สำหรับคนที่กำลังจะซื้อรถมือสอง แล้วบังเอิญรถอยู่ในช่วงรอยต่อที่ BMW เปลี่ยนจากเครื่อง N54 ไปเป็น N55 รวมถึงสายซิ่งที่อยากวางเครื่องแรง คงจะสงสัยว่าเล่นตัวไหนดี

วันนี้เอาจุดอ่อน ข้อดี ข้อเสียของ N54 vs N55 มาฝาก

#Vlogเรื่องรถกับพี่อาร์ต #พี่อาร์ต #รถมือสอง #Howto #BMW #N54 #N55

เครื่องยนต์รหัสร้อนแรง ที่เป็นเครื่องซิ่งสามัญประจำบ้าน BMW ในรถยุค 2006 – 2011 คือ N54 เครื่องเบนซินแถวเรียง 6 สูบ เทอร์โบคู่แบบ Sequential Turbo คือ มีเล็กตัว ใหญ่ตัว ปั่นแรงม้าออกจากโรงงานได้ 306 แรงม้า ไปจนถึง 325 แรงม้า ขึ้นอยู่กับวางอยู่ในรถรุ่นใด

แต่ของแรงย่อมมากับการบำรุงรักษาที่มากกว่า และจุดอ่อนในตัวนี้มีหลายส่วน ทำให้ในปี 2009 BMW ได้เปิดตัวเครื่อง BMW N55 ปรับปรุงเทคโนโลยีจาก N54 มา พร้อมกับแรงม้าที่น้อยลงไปเริ่มต้น 7 แรงม้า ขึ้นอยู่กับรุ่นรถที่วาง แต่ยังแรงบิดเท่าเดิม

ในปี 20111 เป็นตันมาทาง BMW เริ่มเปลี่ยนมาใช้เครื่อง N55 แทน ยกตัวอย่างเช่น BMW 335i E90 ปี 2011 จะเป็นเครื่อง N54 พอมาปี 2012 จะเป็น N55

หรืออย่าง ซีรีย์ 7 740Li F02 ก่อน LCI เป็นเป็นเครื่อง N54 พอ LCI จะเป็น N55 และทยอยหยุดใช้ N44 ไปในที่สุด

คำถามคือ ถ้าเลือกได้ เล่นตัวไหนดี?

ก่อนจะไปถึงขั้นนั้น เรามาทำความเข้าใจก่อนว่า หลัก ๆ แล้ว N54 กับ N55 ต่างกันตรงไหนบ้าง โดยส่วนที่สำคัญคือ

  1. เปลี่ยนจากเทอร์โบคู่แบบ Twin Turbo มาเป็น TwinPower Turbo คือ เทอร์โบเดียว แต่ไอเสียที่เข้ามาปั่นเทอร์โบมี 2 ช่อง ลมไม่ขาดช่วง ลดการรอรอบ หรือ Turbo Lack ไปได้
  2. เปลี่ยนระบบหัวฉีดจาก Piezo เป็นแบบธรรมดา
  3. เปลี่ยนเสื้อฐานกรองใหม่
  4. เปลี่ยนระบบ oil cooler ใหม่
  5. เปลี่ยนระบบ vacum เครื่องยนต์ และ ระบบ breather บนฝาสูบใหม่
  6. N54 ก้าน + ข้อเป็น Forged แต่ N55 ลดเกรดมาเป็น cast iron ธรรมดา ในขณะที่ลูกสูบทั้ง N54 N55 เป็น cast iron

นอกจากนี้ยังมีส่วนแตกต่างอีกหลายจุด แต่หลัก ๆ ก็ตามด้านบน

สมรรถนะ N54 vs N55

N54 ได้เทอร์โบ 2 ลูก ย่อมแรงกว่า พื้นฐานเครื่องปั่นแรงม้าง่ายกว่า จูนแล้วไปได้ไกลกว่า บางเจ้าแปลงจากเทอร์โบคู่ มาเป็นเทอร์โบเดี่ยว อัพปั๊ม high pressure เครื่องเดิมไม่ต้องทำไส้ใน ไปได้ถึง 600 แรงม้าสบาย ๆ บางสำนักอัพลูกสูบ ดันไปได้ถึง 800 แรงม้า

N55 เทอร์โบลูกเดียว ปรับปรุงมาจาก N54 แรงน้อยลง แต่ทนทานมากขึ้น จุดอ่อนน้อยลง การโมฯ การจูนทำได้ในระดับ 400 แรงม้า ด้วยไส้เดิม เทอร์โบเดิม แต่เหนื่อยนิดหน่อย

N55 อัพเทอร์โบใหม่ เปลี่ยนปั๊ม high pressure ไปได้ 600 แรงม้า แต่จะเสียวหน่อยเพราะ ก้าน และ ข้อเหวี่ยงเป็นแค่เหล็กหล่อ ไม่ใช่ Forged เหมือน N54 แต่อัพไส้ในด้วยสามารถไปได้ถึง 800 แรงม้าเช่นเดียวกับ N54 แต่จ่ายเงินเยอะกว่า

เรียกได้ว่า สายแรงนั้น N54 แรงกว่า หรือ เรียกได้ว่าหากทำ Stage 1 – Stage 2.5 นั้น เครื่อง N54 ได้ม้ามากกว่า แรงง่ายกว่า

หากเมื่อไป Stage 3 เปลี่ยนเทอร์โบ อัพปั๊ม high pressure เปลี่ยนท่อไอดีซิ่งแล้ว ทั้ง 2 ตัวเริ่มแรงไม่ค่อยต่างกันแล้ว

แต่ถ้าเอาความเหนียว ดูแลง่าย จุดที่ต้องกังวลน้อยกว่าก็ต้อง N55 ครับ

ปัญหาประจำตัว N54

  1. N54 เทอร์โบที่ชอบมีปัญหาน้ำมันรั่วค่าซ่อมอยู่ประมาณ 5-6 หมื่นบาท ต่อคู่
  2. N54 และ เวสเกตชอบหลวมโดยเวลาเสียจะมีเสียงแกร๊ก ๆ ๆ อาการนี้ถอดเปลี่ยนเวสเกตใหม่ ซ่อมไม่ได้
  3. ด้วยการเป็นเทอร์โบคู่ ห้องเครื่องจะแน่นมาก เวลาอะไรเสียจะเข้าถึงยาก โดยเฉพาะชุดท่ออาการชุดนึงจะอ้อมหลังเครื่อง หากชุดนี้แตกก็ต้องรื้อเยอะเลย
  4. N54 ได้หัวฉีด Piezo ที่ซับซ้อนกว่า แถมเสียบ่อย เจอเกือบทุกคัน ที่สำคัญซ่อมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนตกหัวละ 2 – 3 หมื่นบาท ถ้าเอาเหนียวสุด ๆ ต้องเบิกหัวฉีดเบอร์ 12 (index 12) รุ่นล่าสุด
  5. N54 มีปัญหาชาร์ปละลาย หมั่นเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง และ ใช้น้ำมันเครื่องเกรดดีหน่อยจะช่วยได้ ก่อนจะซัดรถควรรอให้เครื่องมีอุณหภูมิได้ที่ก่อน อาการนี้ป้องกันได้ด้วยการเปลี่ยนชาร์ปใหม่ เอาชาร์ปแท้ หรือ ชาร์ปซิ่งก็ได้
  6. รางโซ่ไทมมิ่งเป็นพลาสติคทนความร้อน ใช้ไปนาน ๆ อาจกรอบแตกได้ แนะนำให้เปลี่ยนเลย
  7. Vanos ชอบเสีย ซึ่งเป็นกันหลายรุ่น ไม่ได้เป็นเฉพาะ N54 ซึ่งเปลี่ยนใหม่ไม่แพง
  8. High Pressure Fuel Pump (HPFP) ชอบเสีย ซึ่งก็ไม่ได้เจาะจงเฉพาะ N54 นะครับ รุ่นใหม่ ๆ เป็นหมด
  9. N54 ขับเดิม ๆ ไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่ถ้าจะเอามาจูนต่อ เรื่องระบบระบายความร้อนสำคัญมาก เป็นอีกหนึ่งจุดเปราะบาง แนะนำให้เพิ่ม oil cooler แยกออกมาสำหรับรุ่นที่ไม่มี หม้อน้ำ ระบบน้ำ ปั๊มน้ำต้องระวัง
  10.  อาการน้ำมันรั่วซึมรอบตัวเครื่องโดยเฉพาะฝาสูบ และ อ่างน้ำมันเครื่อง ตัวนี้จะรั่วบ่อยกว่าปกติ
  11. เซนเซอร์แรงดันปั๊มติ๊กชอบรวน
  12. Boost Solinoid ชอบเสีย

ปัญหาประจำตัว N55

  1. N54 มีปัญหาชาร์ปละลาย หมั่นเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง และ ใช้น้ำมันเครื่องเกรดดีหน่อยจะช่วยได้ ก่อนจะซัดรถควรรอให้เครื่องมีอุณหภูมิได้ที่ก่อน อาการนี้ป้องกันได้ด้วยการเปลี่ยนชาร์ปใหม่ เอาชาร์ปแท้ หรือ ชาร์ปซิ่งก็ได้
  2. Vanos ชอบเสีย ซึ่งเป็นกันหลายรุ่น ไม่ได้เป็นเฉพาะ N55 ซึ่งเปลี่ยนใหม่ไม่แพง
  3. High Pressure Fuel Pump (HPFP) ชอบเสีย ซึ่งก็ไม่ได้เจาะจงเฉพาะ N55 นะ รุ่นใหม่ ๆ เป็นหมด
  4. หัวฉีดใน N55 เปลี่ยนระบบใหม่แล้ว ไม่มีปัญหา ที่สำคัญต่อให้เสีย หัวนึงหลักไม่กี่พันบาท
  5. รางโซ่ไทมมิ่งเป็นพลาสติคทนความร้อน ใช้ไปนาน ๆ อาจกรอบแตกได้ แนะนำให้เปลี่ยนเลย
  6. หากกล่อง ECU เสีย อันนี้จะหายากหน่อยเพราะเป็นเครื่องที่มีประชากรน้อย ต่างกับ N54 ที่กล่องหามือสองง่ายกว่า

ถามว่าวันนี้ถ้าคุณซื้อรถมือสอง แล้วเป็นประเภทใช้งานทั่วไป เดิม ๆ ก็สนุกแล้ว หรือ จะจูนนิดหน่อยสไตล์พ่อบ้านขาซิ่ง แนะนำว่าเลือก N55 จะปวดหัวน้อยกว่า ซ่อมจบง่ายกว่าในราคาประหยัดกว่าเป็นแสน ๆ อีกทั้งเหนียวกว่า

ในมุมของรถวางเครื่อง ค่าตัว N55 แพงกว่า N54 เป็นแสน ยิ่งถ้าเป็น N55 เกียร์ DCT ราคาแพงกว่า N54 เครื่อง 6 เกียร์แตะ 2 แสนบาท ทำให้หลายคนมองว่าเล่น N54 คุ้มราคากว่า เพราะแรงเท่ากัน ค่าเครื่องถูกกว่าเป็นแสน ที่สำคัญหาเครื่องง่าย มีให้เลือกเยอะ ขณะที่ N55 หายากกว่า

แต่ผมยังคงเหมือนเดิมครับ พ่อบ้านสายซิ่ง ไม่ได้แว้นอะไรมากนัก N55 แพงแต่จบ ไม่นับเทคโนโลยี และ การแก้ไขจุดอ่อนของ N54 มาแล้วนั้น อายุเครื่องก็น้อยกว่าด้วย ยังเอง N55 จบง่ายกว่า

ส่วนสายซิ่ง และ เข้าใจพื้นฐานการ “ซ่อมหนัก” ของ N54 บอกเลยว่า “ของมันต้องมี” เพราะแรงจัด ปั่นม้าง่ายกว่า ไปได้ลึกกว่า ม้าลงล้อนี่เสกนิดเดียวเห็น 400 ม้าแล้ว ถ้าของถึง ๆ หน่อย จูนไม่ต้องเค้นมาก 450 แรงม้าสบาย ๆ ทั้งนี้เครื่อง N54 ถ้าคุณ​ “ซ่อมถึง” ก็สามารถสนุกกับแรงม้ามหาศาลได้อย่างวางใจครับ

สุดท้ายเพื่อน ๆ ชอบเครื่องไหนมากกว่ากัน มาแชร์ประสบการณ์กันได้ที่หน้าเฟสบุ๊คเพจเหมือนเคย

_____________________________________________

ฝากกดติดตามเพจ www.facebook.com/xenonartpage

และ ช่องยูทูปเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ

https://www.youtube.com/user/artxenonart

About the author

xenon_art

บล็อคเกอร์กวน ๆ อารมณ์ดี ขี้บ่นบ้างอะไรบ้าง ชอบเขียนเรื่องสมาร์ทโฟน กิน เที่ยว และ ของเล่น เขียนบทความเป็นงานอดิเรก

twitter: @xenon_art
Instagram: xenon_art