เดี๋ยวนี้คนเรียกอะไหล่ว่า OEM จนติดปาก แบบไม่รู้จริง ๆ ว่า OEM คืออะไร เรียกจนมั่วไปหมด

ถ้าไม่อยากโดนหลอก ถ้าไม่อยากพลาด มาทำความเข้าใจเรื่องอะไหล่กัน

#Vlogเรื่องรถกับพี่อาร์ต #พี่อาร์ต #รถมือสอง

เจอบ่อยมากกับตัวเอง รวมถีงเพื่อน ๆ FC ทัก inbox มาถามเรื่องอะไหล่ โดยเฉพาะคำว่า OEM ที่เดี๋ยวนี้ใช้กันเกลื่อนจนผมมองว่าเป็นการหลอกผู้ใช้งานอย่างพวกเรา ดังนั้นก่อนอื่นมาเข้าใจคำเรียกอย่างถูกต้องกันก่อน

คำเตือน

บทความนี้ และ คลิปด้านบน ทำขึ้นจากประสบกาณ์ส่วนตัว ในมุมมองของคนซ่อมรถมือสองในประเทศไทย ข้อมูลอาจไม่ครบถ้วนท้้งหมด และ อาจมีความผิดพลาดได้ โปรดใช้วิจารณญาณในการเสพข้อมูล

OE / Genuine Parts

อะไหล่แท้ อะไหล่ที่มีโลโก้รถ พร้อมกล่องแท้ที่มีโลโก้รถยนต์ อันนี้ง่ายเพราะทุกคนเข้าใจไม่ซับซ้อน 

แบบนี้คนเชื่อว่าราคาแพงเกินจับต้อง แต่จริง ๆ ในตลาดที่ผมเห็น พร้อมทั้งอู่ที่ผมเข้าใช้บริการ ราคาอะไหล่แท้ (คาดว่าของหิ้ว) ไม่ได้แพงขนาดนั้น เวลาผมปั้นรถ หลาย ๆ ชิ้นเลือกใช้ของแท้ไปเลย ใช้งานยาว ๆ ปลอดภัย สบายใจกว่า 

ซึ่งเท่าที่ปั้นรถมา Benz ผมจะใช้ของแท้เยอะกว่า เพราะเหตุผลด้านราคาและคุณภาพ ส่วน BMW ใช้ของแท้น้อยมากด้วยเหตุผลด้านราคา ประกอบกับอู่ที่เลือกใช้งาน OEM แทน

OEM = Original Equipment Manufacturer

คืออะไหล่ที่ผลิตโดยโรงงานที่ผลิตให้กับ OE หรือ สินค้าของแท้ ส่งโรงงานประกอบรถยนต์ แต่เจ้าของโรงงานผลิตออกมาขายโดยไม่ใส่ยี่ห้อรถยนต์ ทว่าใส่ยี่ห้อตัวเองแทน

สินค้าพวกนี้มีคุณภาพเทียบเท่า หรือ เหมือนกับของแท้ติดรถยน แต่ราคาถูกกว่า เพราะใช้แบรนด์ตัวเอง อาทิเช่น Bilstein, Bosch, Cohline, Mahle, Behr, NGK, Denso, Sachs, ZF, Victor Reinz เป็นต้น

พวกนี้แหละคือ OEM จริง ๆ เพราะเค้าได้รับสัญญาซื้อ ให้ผลิตส่งโรงงานประกอบรถยนต์ ใช้เทคโนโลยี วัสดุเดียวกับที่ส่งให้โรงงานประกอบรถยนต์

OES = Original Equipment Supplier

คำนี้เดี๋ยวนี้คนใช้น้อยมาก ๆ เพราะไปใช้เหมารวมกับ OEM เนื่องจากมันจะคล้าย ๆ กัน แต่สำหรับคนยุค 80′ ที่จบ ปวช. แบบไม่ค่อยตั้งใจเรียน สมัยนั้นถูกสอนว่า OES คือ อะไหล่ที่ผลิตโดยโรงงานที่ส่งชิ้นส่วนอะไหล่ให้โรงงานประกอบรถยต์

ฟังคล้าย OEM แต่ ตีความได้ 2 แบบ คือ

  1. จะหมายถึงอะไหล่ หรือ ยี่ห้อที่ชิ้นที่เราถือในมือ เป็น OES คือ ผลิตโรงงานเดียวกับ OE แต่ รหัสนี้ไม่ได้ผลิตเป็น OE เช่นผ้าเบรค Porsche Cayenne ของแท้ผลิตโดย Textar แต่ พอซื้อผ้าเบรคใส่ W212 ยี่ห้อ Textar จะเรียกเป็น OES เพราะรุ่นนี้เค้าไม่ได้ผลิตส่งโรงงานผลิตรถยนต์
  2. จะหมายถึง อะไหล่ หรือ ยี่ห้อที่ผลิตส่งให้กับ OEM ไม่ได้ส่งเข้าโรงงานผลิตรถยนต์โดยตรง เช่น ผ้าเบรค Nissinbo ผลิตส่งให้ Nissin ประกอบเป็นชุดเบรคส่งโรงงาน Toyota ดังนั้น OEM ในระบบของ Toyota คือ Nissin แต่ Nissinbo ถือเป็นแบรนด์ OES 

ดังนั้น OEM กับ OES ส่วนมากจะมองเป็นเกรดเดียวกัน คือ เกรดแท้ แปะแบรนด์ตัวเอง จนปัจจุบันส่วนมาเรียกรวมเป็น  OEM

Aftermarket / งานแบรนด์

คือ อะไหล่ที่ผลิตมาเพื่อขายพวกเราคนเข้าอู่นอกโดยเฉพาะ เป็นอะไหล่ที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตรถยนต์ เรียกง่าย ๆ ว่าไม่ใช่อะไหล่แท้

พวกนี้จะทำออกมาใช้แบรนด์ตัวเอง หน้าตาเหมือนของแท้ แต่วัสดุ คุณภาพ ลดหลั่นกันไปตามราคา และ การวางตลาด ตัวอย่างเช่น ออยเกียร์ Nissens คุณภาพดี ราคาประหยัด แต่ไม่ใช่  OE และ OEM เค้าจะเป็น Aftermarket 

ปัจจุบัน ตลาดอะไหล่ โดยที่ผมเห็นบ่อยมาก คือ บนโลกออนไลน์ ทั้งแพลตฟอร์ม eCommerce หรือ กลุ่มในเฟส ชอบเอาของตัวเองมาเรียก OEM จะด้วยความตั้งใจ หรือ ไม่ตั้งใจอันนี้ไม่ทราบได้ แต่ผมถือว่าหลอกลูกค้าด้วยการเล่นคำ

เห็นบ่อยสุดเป็นลูกหมาก และ ปีกนก ยี่ห้ออะไรนะ ใครเคยเห็นคอมเม้นต์บอกได้ แต่ผมขอไม่เอ่ยชื่อแล้วกัน 

Fake / Knock Off / ของปลอม

คือของปลอมนั่นแหละ จะงานเทียบ งานเกรด งาน AAA หรือ งานมิลเลอร์ แล้วแต่คนจะเรียก แต่นั่นของของปลอม ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ไม่สนับสนุนครับ

ถ้าจะซื้องานเกรด ไปเอางาน Aftermarket แทนดีกว่า เพราะอย่างน้อย เค้าสร้างแบรนด์ เค้ามีความพยายาม และ เค้ามีความรับผิดชอบมากกว่างานปลอม

ที่สำคัญจากประสบการณ์ส่วนตัว งาน Aftermarket พัฒนามาเยอะมาก คุณภาพดี ๆ ราคากลาง ๆ เยอะเลย

แล้วจะซื้อยังไงไม่ให้โดยต้ม

สังเกตุง่าย ๆ ใครที่ขายของแล้วชอบบอกว่า OEM นั่นแหลน่ากลัว เพราะพวกแบรนต์ OEM จริง ๆ คนขายจะบอกด้วยความภูมิใจว่า เฮ้ย พี่นี่โช้ค Bilstein นะ…. นี่ปะเก็นวิกเตอร์เลยนะ

ไม่มีใครขาย Bilstein แล้วบอก พี่นี่โช้ค OEM นะ เพราะความดังมันไม่จำเป็นต้องอ้างอิงแล้ว หรือ เทียบง่าย ๆ คงไม่มีใครหยิบ iPhone 13Pro ขึ้นมาแล้วบอก เฮ้ยนี่มือถือ OEM เลยนะ???

อีกอย่างหนึ่ง คือ หากเรามั่นใจว่ารถเรายังไม่เคยซ่อม รื้อออกมาอะไหล่ติดรถมักจะมีแบรนด์ผู้ผลิต คู่กับโลโก้รถของเรา อย่าง ออยเกียร์ BMW F10 รื้อออกมาจะเป็นยี่ห้อ Behr หรือ Mahle ซึ่งปัจจุบันนี้ 2 บริษัทรวมกันแล้ว ใช้ยี่ห้อ Mahle Behr

แต่กรณี BMW F10 520d ที่ผมปั้นไป เจ้าของเก่าเคยซ่อมมา รื้อออยเกียร์มาดูเค้าใช้ยี่ห้อ Nissens ซึ่งเป็น Aftermarket เกรดยุโรป ผมก็ถือว่ารับได้

แต่ที่ง่ายที่สุด คือ ไปซื้ออะไหล่ หรือ ซ่อมรถอู่ที่สนิทกัน ไว้ใจกัน และแจ้งเค้าเอาอะไหล่แท้ หรือ OEM จริงๆ ก็จะไม่โดนมั่วครับ ถ้ามั่วมาก็เปลี่ยนอู่ได้เลย

ส่วนอู่ที่ผมลงคลิปไป ส่วนมากไม่มั่ว แท้บอกแท้ งาน aftermarket บอก aftermarket ไม่เอาของ aftermarket มาขายเป็น OEM ให้ปวดหัว เพราะจริง ๆ แล้วอู่ดี ๆ ที่ซ่อมแล้วต้องรับประกันให้ลูกค้า มักไม่ค่อยกล้าใช้อะไหล่มั่ว ๆ หรอกครับ มันเสียเวลาเค้าหากซ่อมแล้วไม่จบ

บทความนี้ ก็ไม่ได้อะไรมากครับ อยากให้ความรู้เพื่อน ๆ จะได้ไม่โดนคนเอาของ aftermarket มาขายเป็น OEM ใส่ไปอาจไม่ทน หรือ คุณภาพไม่ได้อย่างที่ควรจะเป็น

อย่างที่บอกเสมอครับ ซ่อมเบนซ์ ให้เป็นเบนซ์ ซ่อมบีเอ็ม ให้เป็นบีเอ็ม ใช้อะไหล่อย่างถูกต้อง อะไรควรแท้ก็ต้องแท้ อะไรเทียบได้ก็เทียบเอา 

ปล. อะไหล่เทียบในมุมของผมคือ Aftermarket 

ขอให้มีความสุขกับการปั้นรถมือสองใช้ครับ

ส่วนอู่ที่ซ่อมในคลิปนี้ และอู่ ซ่อมรถอื่น ๆ ผมรวบรวมให้แล้วในบทความนี้…..บั๊ยยยยยย

รวมรายชื่ออู่ที่พี่อาร์ตแนะนำ ซ่อม Benz, BMW

 

_______________________________________________

ฝากกดติดตามเพจ www.facebook.com/xenonartpage

และ ช่องยูทูปเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ

https://www.youtube.com/user/artxenonart

About the author

xenon_art

บล็อคเกอร์กวน ๆ อารมณ์ดี ขี้บ่นบ้างอะไรบ้าง ชอบเขียนเรื่องสมาร์ทโฟน กิน เที่ยว และ ของเล่น เขียนบทความเป็นงานอดิเรก

twitter: @xenon_art
Instagram: xenon_art