ใครสงสัยเรื่องการทำ IUI หรือ Intra – Uterine Insemination เพื่อการตั้งครรภ์บ้าง วันนี้เอาบทความมาฝากครับ
#Vlogเรื่องรถกับพี่อาร์ต #พี่อาร์ต #รถมือสอง
ขั้นตอนการทำ IUI มีอะไรบ้าง และต้องเตรียมตัวอย่างไร
การทำ IUI หรือการฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก มีขั้นตอนการทำแบ่งออกเป็นขั้นตอนใหญ่ๆ และขั้นตอนย่อยๆ ในแต่ละขั้นตอนเหล่านั้น ทำให้หลายคนอยากรู้ถึงข้อมูลรายละเอียดว่าขั้นตอนการทำ IUI มีอะไรบ้าง ครั้งนี้ทางบทความก็ได้รวบรวมมาให้แล้ว ดังนี้
ขั้นตอนการทำ IUI : เข้าปรึกษาแพทย์
เริ่มกันที่ขั้นตอนแรกของการทำ IUI ก็คือการเข้าปรึกษาแพทย์ ขั้นตอนนี้อาจเป็นไปได้ทั้งแบบที่คู่สมรสเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาว่าจะทำการรักษาแบบไหน เพื่อให้มีบุตรได้สำเร็จ หลังจากรู้ตัวว่ามีภาวะมีบุตรยาก โดยแพทย์ส่วนหนึ่งจะแนะนำให้ทำ IUI เป็นวิธีแรก หากทำแล้วไม่ได้ผลค่อยเปลี่ยนไปทำการรักษาด้วยวิธีอื่น
แต่ก็อาจจะมีคู่สมรสบางคู่เข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาเรื่องการทำ IUI โดยตรง ซึ่งแพทย์ก็จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาและข้อแนะนำต่างๆ นอกจากการให้คำปรึกษาและแนะนำแล้ว มักมีการตรวจร่างกายร่วมด้วยเมื่อเข้าพบแพทย์ ซึ่งรายละเอียดการตรวจร่างกาย อาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละคลินิกหรือแตกต่างกันตามแพ็คเกตการรักษาที่คนไข้เลือก ซึ่งในขั้นตอนการปรึกษาแพทย์เพื่อทำ IUI จะมีการกระตุ้นไข่ด้วย โดยขั้นตอนการทำ IUI ในส่วนของการเข้าปรึกษาแพทย์ มีดังนี้
- ตรวจหมู่เลือด
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
- ตรวจภาวะโรคธาลัสซีเมีย
- ตรวจหาเชื้อเอชไอวี
- ตรวจหาไวรัสตับอักเสบบี
- ตรวจหาไวรัสตับอับเสบซี
- ตรวจโรคซิฟิลิส
- ตรวจวิเคราะห์คุณภาพเชื้ออสุจิ
- ฉีดยากระตุ้นไข่
ส่วนมากคลินิกรักษาภาวะผู้มีบุตรยากจะตรวจร่างกายตามรายละเอียดข้างต้นก่อนทำ IUI แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแต่ละคลินิกก็อาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปเล็กน้อย หรืออาจขึ้นอยู่กับแพ็กเกตที่คนไข้เลือกด้วย บางแห่งอาจมีการตรวจภายในเพิ่มเติม เพื่อประเมินว่าสามารถทำ IUI ได้หรือไม่ร่วมด้วย เช่น การฉีดสีท่อนำไข่ เป็นต้น
ขั้นตอนการทำ IUI : ติดตามผลหลังการกระตุ้นไข่
หลังจากที่คู่สมรสที่ประสบปัญหามีบุตรยากแล้วทำการเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อทำ IUI หากมีการกระตุ้นไข่ฝ่ายหญิงแล้ว จะต้องมีการติดตามผลด้วย เพื่อดูการเจริญเติบโตของไข่ โดยหลังจากที่แพทย์ฉีดยากระตุ้นไข่ไปแล้วจะนัดคนไข้ให้เข้ามาพบภายใน 5-10 วัน เพื่อดูขนาดของไข่ว่าเติบโตพอที่จะทำการปฏิสนธิแล้วหรือยัง เพื่อทำการฉีดน้ำเชื้อต่อไปตามลำดับ
ขั้นตอนการทำ IUI : ฉีดน้ำเชื้อ
มาถึงวันฉีดน้ำเชื้อหรือเข้าสู่ขั้นตอนการทำ IUI จะแบ่งเป็นฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ดังนี้
ฝ่ายชาย
- ทางคลินิกจะให้คนไข้ฝ่ายชายทำการเก็บอสุจิด้วยตัวเอง ซึ่งทางคลินิกจะมีภาชนะให้และเตรียมพื้นที่ไว้ให้ คนไข้ฝ่ายชายจะต้องทำการเก็บอสุจิใส่ในภาชนะ และส่งภาชนะนั้นเข้าสู่ห้องปฏิบัติการ
- แพทย์ทำการคัดเลือกเชื้ออสุจิที่แข็งแรงเอาไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อทำการฉีดเข้าสู่โพรงมดลูกคนไข้ฝ่ายหญิงตามขั้นตอนการทำ IUI
ฝ่ายหญิง
- เตรียมน้ำเชื้อที่มีการคัดเลือกอสุจิที่แข็งแรงไว้แล้ว
- แพทย์ทำการขยายช่องคลอดฝ่ายหญิงด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Grave Vaginal Speculum เพื่อให้เห็นปากมดลูก
- ใส่ปลายสายพลาสติกเข้าไปที่ปากมดลูก โดยปลายสายอีกด้านหนึ่งต่อกับกระบอกที่ถูกออกแบบมาสำหรับฉีดน้ำ
- ดูดน้ำเชื้ออสุจิที่เตรียมไว้เข้ามาในกระบอกและค่อยๆ ฉีดน้ำเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก
- เมื่อทำการฉีดน้ำเชื้อเสร็จแล้ว แพทย์จะถอดอุปกรณ์ทั้งหมดออก แล้วให้คนไข้ฝ่ายหญิงนอนพักต่อประมาณ 20-30 นาที
ขั้นตอนการทำ IUI : ติดตามผลการตั้งครรภ์
หลังจากทำการฉีดน้ำเชื้อเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะนัดคนไข้มาติดตามผลการตั้งครรภ์ หลังวันฉีดน้ำเชื้อ 2 สัปดาห์ หากการตั้งครรภ์ไม่สำเร็จ สามารถทำ IUI อีกได้ แต่ไม่ควรเกิน 4 ครั้ง หรือเต็มที่คือไม่เกิน 6 ครั้ง ก็ควรเปลี่ยนวิธีการรักษา หรือหลังจากทำไม่สำเร็จครั้งแรก อาจมีการตรวจร่างกายเพิ่มเติมตามดุลยพินิจแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของการมีบุตรยากที่ละเอียดขึ้น
ขั้นตอนการทำ IUI : การเตรียมตัวก่อนการรักษา
ฝ่ายชาย
- งดการมีเพศสัมพันธ์หรือหลั่งน้ำอสุจิอย่างน้อย 3-7 วัน ก่อนวันเก็บอสุจิ
- หลีกเลี่ยงการอบซาวน่า 3-7 วัน ก่อนวันเก็บอสุจิ
- หลีกเลี่ยงการสวมใส่กางเกงชั้นในที่รัดแน่นเกินไป
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นอาหารที่มีไขมัน
- งดสูบบุหรี่
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- พักผ่อนให้เพียงพอ
ฝ่ายหญิง
- รับประทานอาหารประเภทวิตามินเพื่อบำรุงไข่ก่อนวันฉีดกระตุ้นไข่ 3 เดือน ได้แก่ น้ำมันปลา โฟลิก Q10
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นโปรตีนเพื่อบำรุงผนังมดลูกให้หนาและแข็งแรง
- ออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อควบคุมระดับฮอร์โมน ช่วยเพิ่มโอกาสการฝังตัวของตัวอ่อนที่โพรงมดลูก
- งดสูบบุหรี่
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- พักผ่อนให้เพียงพอ
ขั้นตอนการทำ IUI ไม่ยุ่งยากหรือซับซ้อนเท่ากับการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากด้วยวิธีอื่น แต่ถึงอย่างนั้นคนไข้ที่เข้ารับการทำ IUI ก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อม สำหรับการมีบุตรที่สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงเซลล์ไข่ หรือการบำรุงเซลล์อสุจิ ไปจนถึงการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่างที่เป็นเหตุให้อสุจิไม่แข็งแรง หรือชะลอการตกไข่ รวมถึงพฤติกรรมที่ทำลายเซลล์ไข่ ซึ่งเป็นอุปสรรคของการมีบุตรที่สำเร็จ สามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ Bangkok Central Clinic ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากที่เต็มไปด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
_____________________________________________
ฝากกดติดตามเพจ www.facebook.com/xenonartpage
และ ช่องยูทูปเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ
https://www.youtube.com/user/artxenonart