กล้องตัวเล็ก เบา compact แต่เซ็นเซอร์ใหญ่กว่า ZV-1 แถมราคาต่างกันนิดเดียว มันคือโลกใหม่ของคนรักการถ่ายวีดิโอ แต่…ซื้อมามันจะใช้งานเป็นอย่างไร ตอบโจทย์แค่ไหน แล้วมันจะจบจริงเหรอ?

#พี่อาร์ต #SONY #ZVE10 #ซื้อเองรีวิวเองไม่ต้องอวย #จ่ายเต็มแต่อวยเหมือนได้ฟรี

SONY ZV-E10

  • CMOS ชนิด APS-C 23.5 x 15.6 มม.
  • เซ็นเซอร์ความละเอียด 24.2 ล้านพิกเซล (25 ล้าน พิกเซล ใช้งานจริง 24.2 ล้าน)
  • โฟกัส 425 จุด
  • ไม่มีช่องมองภาพ
  • หน้าจอฟลิบด้านข้าง TFT ขนาด 3 นิ้ว 921,600 จุด 
  • ถ่ายภาพนิ่งได้ 11-fps Shooting
  • ISO 100-32000
  • ถ่าย 4K 25p 100m ได้ ไม่จำกัดเวลา
  • แบตเตอรี่ FW-50 ขนาด 1,020 มิลิแอมป์ ถ่ายวีดิโอได้ประมาณ 90 นาที
  • น้ำหนัก 350g รวมเลนส์ แบตเตอรี่ และ SD Card
  • มีปุ่ม Defocus ทำละลายหลังอัตโนมัติ
  • มีปุ่ม Product Showcase โฟกัสสิ่งที่อยู่ด้านหน้าเสมอ ไม่ได้จับหน้า หรือ ดวงตา
  • ไม่มีปุ่มปรับโหมดกล้อง แต่ใช้ปุ่มสลับโหมดแทน
  • มีไฟ Tally แสดงเมื่อถ่ายวีดิโอ
  • มีกรอบสีแดงแสดงบนหน้าจอเมื่อถ่ายวีดิโอ
  • มีช่องเสียบไมค์ หูฟัง และ สามารถ LIVE Stream ผ่าน USB ได้ทันที

สเปคเต็ม ๆ ดูได้เองที่

https://www.sony.co.th/th/electronics/interchangeable-lens-cameras/zv-e10/specifications

สิ่งที่ควรรู้ สำหรับคนเน้นงานวีดิโอ

  • ถ้าเปิดใช้กันสั่นในกล้องไม่ว่าจะโหมดใด ไม่สามารถทำกันสั่นใน Catalyst Browse ได้
  • ถ้าต้องการถ่าย Slowmotion ในโหมด FullHD 100p ไม่สามารถเปิด Active Stabilize ในกล้องได้ เปิดได้แค่ Stabilize ธรรมดา และไม่สามารถทำกันสั่นใน Catalyst Browse ได้
  • ถ่าย Slowmotion แบบ S&Q จะไม่มีเสียง หากต้องการเสียงด้วย ต้องใช้ FullHD 100p แล้วเอามาทำ slowmotion เองในโปรแกรมตัดต่อ
  • สามารถปิดกันสั่น แล้วเปิด Product Showcase และ Defocus ถ่ายวีดิโอ จากนั้นเอาไปทำกันสั่นใน Catalyst Browse ได้

ประสบการณ์การใช้งาน

ZV-E10 กับเลนส์ KIT 16-50mm รูรับแสงกลาง ๆ ไม่ได้จัดว่าดี หรือ แย่ เรียกว่าใช้งานทั่วไปได้ หากสงสัยว่าไฟล์วีดิโอเป็นอย่างไร สามารถดูได้ที่คลิปทดสอบด้านบน

แต่หากถามผม คือ มันใช้งาน “พอผ่าน” การถ่ายในที่แสงน้อยทำได้ไม่ดี การละลายหลังไม่ดี แต่สีสวย

การกันสั่น ในมุมของคนทำ Content ลงสื่อโซเชี่ยล มันทำได้ไม่ดีเอามาก ๆ กับ Stabilization ในตัวกล้อง แต่หากปิดซะ แล้วเอามาทำกันสั่นในโปรแกรม Catalyst Browse ผมว่าดีกว่าเยอะ

แต่หากเอาไปถ่ายครอบครัว ถ่ายเก็บความทรงจำเวลาไปเที่ยว ผมว่ารับได้กับการใช้ Active Steady ในตัวกล้อง เพราะคล่องตัวกว่า ไม่ต้องมานั่งทำกันสั่นทีหลัง

ปัญหาที่เจอแทบไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นตกใจไปมากกว่ากล้องทั่ว ๆ ไป คือ ความร้อน และ แบตเตอรี่ ซึ่งกล้องในกลุ่มใกล้เคียงกับ ZV-E10 ตัวไหนก็มีทั้งนั้น แต่ความเจ๋งอของ ZV-E10 คือ มันมีฟีเจอร์เยอะมาก เยอะเหนือคู่แข่งหลายขุม แม้กระทั้งเทียบกับ ZV-1 มันยังเจ๋งกว่า เพราะในราคาต่างกันพันนึง แต่ได้เซ็นเซอร์ใหญ่กว่า และเปลี่ยนเลนส์ แทบไม่ต้องคิดเลยครับ

ทำไม่จบ?

อวยซะขนาดนี้ ทำไม่จั่วหัวว่าไม่จบ?

ก็เท่าที่ลองมา เลนส์ KIT มันไม่จบ เพราะสไตล์การถ่ายวีดิโอของผม มักจะถ่ายตัวเอง และ ครอบครัวในระยะใกล้ ดังนั้นระยะ 16mm บน APSC มันไม่พอ ยิ่งใช้ Active Steady Shot นี่จบเลย มันแน่นมากจนเห็นแต่หน้าเรา ไม่เห็นฉากหลัง

ดังนั้นหากผมจะใช้งานให้ลงตัว ทั้งสร้าง content ลงยูทูป และ พกไปถ่ายครอบครัว มันต้องซื้อเลนส์ใหม่ถึงจะจบ โดยตัวเลือกที่มีคือ

Tamron 11-20mm f2.8 ซึ่งโทนสีของ Tamron นั้นออกหวาน แถมได้การละลายหลังที่ดีกว่า แต่แลกมากับค่าตัว 28,990 บาท บางร้านลดเหลือ 27,990 บาท เป็นราคาที่ไม่ได้แพงนักกับเลนส์มุมกว้าง

แต่พอมาเทียบกับราคากล้องที่อยู่แค่ 23,990 บาท คนที่มาเริ่มเล่นกล้อง APSC อาจตกใจได้ 

อีกตัวนึงก็เป็น Samyang 12mm f2.0 ซึ่งค่าตัวเบากว่ามาก ๆ เพียง 12,900 บาท เท่านั้น แต่ข้อจำกัดของมันคือ มันซูมจากตัวเลนส์ไม่ได้ ทำให้มันใช้ได้ระยะเดียวคือ 12mm ซึ่งสำหรับคนใช้ Vlog ผมว่าเพียงพอ หากจะถ่ายเจาะ ก็ใช้ Clear Image Zoom ของตัวกล้องซึ่งเป็นการซูม 1.5 เท่า (โดยประมาณ) แบบไม่เสียรายละเอียด เพราะตัวกล้องมันถ่าย 6K แล้วเซฟเป็น 4K อยู่แล้ว ดังนั้นการ Zoom แบบครอปภาพเข้าไป มันจะครอปจาก 6K สบายใจหายห่วง

สำหรับคนที่ต้องการความคล่องตัวในการใช้งาน เลนส์ที่ซูมไม่ได้น่าจะไม่ตอบโจทย์ แต่ก็แลกมากับราคาที่ดุเดือดมากทั้ง Tamron 11-20mm F2.8 หรือ Sony 10-18 F4

นอกเสียจากคุณจะชอบถ่ายวีดิโอคนอื่น ไม่เน้นตัวเอง ก็หันไปเล่น Sony 18-105mm หรือใกล้เคียงก็ยังไหวกับราคาหมื่่นต้น ๆ 

บทสรุป

หลายคนคงอดจะเทียบกับ SONY ZV-1 ไม่ได้ เพราะมันคล้ายกันมาก ในคลิปผมก็พูดถึงเช่นกัน แต่เอาจริง ๆ นะ มันไม่ค่อยแฟร์ถ้าจะมาเทียบกัน เพราะ ZV-1 เป็นกล้อง Compact เน้นเล็ก เบา พกใส่กระเป๋าง่าย แต่ ZV-E10 เป็นกล้อง Mirrorless APS-C ย้งไง ZV-1 ก็สู้ไม่ได้ ด้วยเซนเซอร์ที่เล็กกว่าเยอะ แถมเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ ภาพออกมายังไงก็สู้ไม่ได้

แต่ถ้าจะถามจริง ๆ ผมตอบได้ว่า ถ้าคุณมี ZV-1 อยู่แล้ว และไม่มีปัญหาในการใช้งานใด ๆ ก็จงใช้ ZV-1 ต่อไป แต่ถ้ารู้สึกว่ามุมกว้างไม่พอในการถือถ่ายตัวเอง แบบไม่มีคนถ่ายให้ แนะนำจ่ายอีกไม่กี่พันบาท ซื้อเลนส์ Ulanzi เพิ่มมุมมองแล้วมันก็จบ

เพราะถ้าคุณจะโดน #ป้ายยา จากบรรดารีวิวต่าง ๆ นั้น บอกเลยว่าคุณต้องเตรียมตัวเสียเงินซื้อเลนส์เพิ่ม และ เริ่มสะสมเลนส์นับจากนี้เป็นต้นไป

ถ้าคุณไม่มี ZV-1 แนะนำเริ่มซื้อที่ ZV-E10 ครับ เพราะอนาคตดีกว่า ระยะยาวไม่มีปัญหาเรื่องระยะเลนส์ แต่แลกมากับขนาดที่เกะกะกว่า ZV-1  

ถ้าคุณใช้ APS-C ตัวอื่น ๆ อย่าง a5100 – a6400 ผมว่า ZV-E10 น่าสนใจมาก ๆ ถ้าเน้นงานวีดิโอ ไม่ว่าจะเป็น Content creator หรือ Home Video ด้วยมันสามารถถ่ายแลัวมาทำกันสั่นในโปรแกรม SONY Catalyst Browse ได้ แบบนิ่ง ๆ เหมือนขึ้น Gimball เลย ที่สำคัญคือฟรี และ ใช้งานง่ายมากกกกก

ตัวผมเองซื้อ ZV-E10 มาแทน a6400 ที่ใช้ถ่ายในสตูดิโอ ด้วยหวังว่าจะได้พกกล้องตัวเล็ก ๆ เบากว่า a7C + Tamron 17-28mm ออกไปถ่ายชิลด์ ๆ บ้าง 

ส่วนเพื่อน ๆ คิดยังไงบ้างกับ SONY ZV-E10 แวะไปคอมเม้นท์ที่หน้าแฟนเพจได้เช่นเคยครับ

สำหรับผมตอนนี้กำลังนั่งลังเลว่าจะไปต่อที่เลนส์ Tamron 11-20mm f2.8 ค่าตัว 28,900 บาทหรือไม่ เพราะบวกกันแล้วน้ำหนักมันดันเบากว่า a7C + Tamron 17-28mm แค่ 300g เท่านั้น รู้สึกว่าราคาต่อกรัมที่ลดลง มันเหมือนจะไม่คุ้ม 555

รอติดตามกันต่อไปว่าจะอะไรต่อ ขอบคุณ และ สวัสดีครับ

_______________________________________________

ฝากกดติดตามเพจ www.facebook.com/xenonartpage

และ ช่องยูทูปเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ

https://www.youtube.com/user/artxenonart

 

About the author

xenon_art

บล็อคเกอร์กวน ๆ อารมณ์ดี ขี้บ่นบ้างอะไรบ้าง ชอบเขียนเรื่องสมาร์ทโฟน กิน เที่ยว และ ของเล่น เขียนบทความเป็นงานอดิเรก

twitter: @xenon_art
Instagram: xenon_art